หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/sudjai_r/sec01p1.htm

การดูแลสุขภาพตนเอง


โดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น ในชีวิต ก็จะพยายามหาทางแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เป็นอันดับแรก เมื่อรู้ว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เอง ก็จะแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้อื่น
ในเรื่องความเจ็บป่วย หรือปัญหาสุขภาพก็เช่นเดียวกัน ทุกคนต้องการที่จะดูแลตนเอง ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ ดังนั้น กล่าวได้ว่า "การดูแลสุขภาพตนเอง เป็นกิจกรรมที่บุคคลแต่ละคนปฏิบัติ และยึดเป็นแบบแผนในการปฏิบัติ เพื่อให้มีสุขภาพดี" อาจแบ่งขอบเขตการดูแลสุขภาพตนเอง เป็น 2 ลักษณะคือ


การดูแลสุขภาพตนเองในสภาวะปกติ
เป็นการดูแลสุขภาพตนเอง และสมาชิกในครอบครัว ให้มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์อยู่เสมอ ได้แก่

การดูแลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข เช่น การออกกำลังกาย การสร้างสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การป้องกันโรค เพื่อไม่ให้เจ็บป่วยเป็นโรค เช่น การไปรับภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ การไปตรวจสุขภาพ การป้องกันตนเองไม่ให้ติดโรค
การดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเจ็บป่วย
ได้แก่ การขอคำแนะนำ แสวงหาวามรู้จากผู้รู้ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขต่างๆ ในชุมชน บุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติ หรือการรักษาเบื้องต้นให้หาย จากความเจ็บป่วย ประเมินตนเองได้ว่า เมื่อไรควรไปพบแพทย์ เพื่อรักษาก่อนที่จะเจ็บป่วยรุนแรง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุข เพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย และมีสุขภาพดีดังเดิม
การที่ประชาชนทั่วไปสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ ึความเข้าใจในเรื่อง การดูแลสุขภาพ ตั้งแต่ยังไม่เจ็บป่วย เพื่อบำรุงรักษาตนเอง ให้สมบูรณ์แข็งแรง รู้จักที่จะป้องกันตัวเอง มิให้เกิดโรค และเมื่อเจ็บป่วยก็รู้วิธีที่จะรักษาตัวเอง เบื้องต้นจนหายเป็นปกติ หรือรู้ว่า เมื่อไรต้องไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข




จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2550


จัดทำโดย
ครูสุดใจ ร่มเย็น
โรงเรียนปิยะบุตร์ อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี 15110
Copyright(c) 2007 Ms. Sudjai Romyen. All right reserved.

http://203.144.140.210/datanew/24-data24.pdf

สตรีวัยทอง
หรือสตรีวัยหมดประจำเดือนหรือวัยหมดระดู คือ สตรีในวัยที่มีการสิ้นสุดของการมีประจำเดือนอย่างถาวร เนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน มีสาเหตุมากจากการที่จำนวนไข่ใบเล็กๆในรังไข่มีปริมาณลดลง ซึ่งมีผลทำให้การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง จนหยุดการสร้างไปในที่สุด
วัยทองเป็นระยะซึ่งสตรีส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นด้านครอบครัว หน้าที่การงาน และฐานะความเป็นอยู่ โดยเฉลี่ยสตรีไทยเริ่มเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดระดู โดยธรรมชาติเมื่ออายุประมาณ 50 ปี ในกรณีที่หมดระดูเมื่ออายุน้อยกว่า 40 ปี เรียกว่า หมดระดูก่อนเวลาอันควร ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆมากขึ้น เช่นเดียวกับสตรีที่หมดระดูจากการผ่าตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง อายุขัยเฉลี่ยของสตรีไทยประมาณ 71 ปี ดังนั้นช่วงเวลาที่สตรีต้องอยู่ในสภาวะวัยหมดระดูนั้น มีประมาณ 1 ใน 3 ของช่วงชีวิตทั้งหมดของสตรี ซึ่งเป็นระยะเวลานานกว่า 20 ปี
มีอาการอย่างไร ?
เมื่อสตรีย่างเข้าสู่วัยทอง อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกายและจิตใจ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขาดฮอร์โมนเพศ คือ เอสโตรเจน เช่น
รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ อาจห่างออกไปหรือสั้นเข้า อาจมีเลือดประจำเดือนน้อยลง หรือมากขึ้น
เกิดอาการซึมเศร้า, หงุดหงิด, กังวลใจ, ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง, ความจำเสื่อม, ความต้องการทางเพศ หรือการตอบสนองทางเพศลดลง
ช่องคลอดแห้ง, คันบริเวณปากช่องคลอด, มีการอักเสบของช่องคลอด, เจ็บเวลาร่วมเพศ, อาจมีการหย่อนยานของมดลูก และช่องคลอด, มีการหย่อนของกระเพาะปัสสาวะ, ปัสสาวะบ่อย, กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ขณะไอหรือจาม หรือขณะยกของหนัก
ผิวหนังแห้ง, เหี่ยวย่น, คัน, ช้ำและเป็นแผลได้ง่าย, ผมแห้ง, ผมร่วง
เต้านมมีขนาดเล็กลง, หย่อน, นุ่มกว่าเดิม
เกิดโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด พบว่าสตรีก่อนวัยหมดประจำเดือนอัตราส่วนของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันในชาย จะสูงกว่าหญิงในอัตรา 9:3 แต่เมื่อสตรีเข้าสู่วัยหมดระดู จะเริ่มมีอัตราการเกิดโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้น
จนมีอัตราไกล้เคียงกับชายเมื่ออายุ 70 ปี ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในสตรีวัยทอง ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
การขาดเอสโตรเจน โดยเฉพาะในระยะแรกของวัยหมดระดู อาจทำให้มีการสูยเสียเนื้อกระดูกได้ถึงร้อยละ 3-5 ต่อปี จนทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน และอาจมีการหักของกระดูกในส่วนต่างๆ ได้แก่ กระดูกข้อมมือ, กระดูกสันหลัง, กระดูกสะโพก เป็นต้น
การดูแลตัวเอง
สตรีควรตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในวัยนี้ ควรหาความรู้เพิ่มเติมพร้อมดูแลตนเองให้มีสุขภาพกายและใจที่ดีโดย
ควรรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันสัตว์ หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และบุหรี่ ควรได้รับแคลเซียมประมาณวันละ 1,000-1,500 มิลลิกรัม อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น กุ้งแห้ง, ปลาเล็กปลาน้อย, ผักใบเขียว รับประทานอาหารที่มีเอสโตรเจนธรรมชาติ เช่น ถั่วเหลือง, ข้าวโพด, ข้าวโอ๊ด, ข้าวสาลี, ข้าวบาร์เล่ย์, มันฝรั่ง, มันเทศ, มะละกอ เป็นต้น
การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ควรกระทำในสตรีวัยหมดระดู เพราะมีผลต่อการสร้างเนื้อกระดูก มีผลดีต่อการลดไขมัน และการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่า การออกกำลังกายสามารถลดอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ และภาวะซึมเศร้าในวัยหมดระดูได้
ในรายที่มีอาการต่างๆรุนแรง ได้รับความทุกข์ทรมาน รบกวนความสุขในชีวิต หรือมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และ หลอดเลือด, โรคกระดูกพรุน ควรพบแพทย์เพื่อพิจารณาการให้ฮอร์โมนทดแทน

ครึ่งหนึ่งของชีวิตท่องเที่ยวยามว่าง


ทำงานเหนื่อยทั้งปีหาเวลาว่างท่องเที่ยวทั่วไทยเติมรางวัลให้กับชีวิตชีวิตคนเราจะอะไรกันนักหนาหันมามองตัวเอง ดูแลตัวเอง ให้อะไรกับชีวิต เมื่อเราเดินทางมาครึ่งหนึ่งของชีวิต
การดูแลตนเองและทุกคนในครอบครัวโดยเฉพาะลูกชาย ลูกสาวที่กำลังจะตั้งต้นชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตแม่ที่สามารถมอบทุกอย่างแกลูกได้ ถามว่า..ทุกวันทำงานและหาเงินรายได้พิเศษเสริมเพื่อใคร ตอบได้ทันทีว่าเพื่อลูก ลูก และในชีวิตมีความภาคภูมิใจมากที่สุดคือลูกเป็นคนดี เป็นเด็กดี รู้จักรักกันคอยช่วยเหลือกันตลอดไปในชีวิตนี้สิ่งที่ต้องการอีกอย่างคือสุขภาพแข็งแรง ความไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐ